โรคปากนกกระจอกและแผลที่ปาก



ริมฝีปากอักเสบ และแผลในช่องปากมีอาการพอง เป็นจุดหรือ เจ็บแสบที่ปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น แม้ว่าการเจ็บแสบ และความผิดปกติที่ปากจะมีอยู่หลายประเภท โดยส่วนใหญ่ของอาการผิดปกติเหล่านี้จะเป็นโรคปากนกกระจอก ปากเปื่อย เนื้อเยื้อในปากเป็นสีขาวปื้นๆ (Leukoplakia) และการติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis) โรคเหล่านี้จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมด้านล่าง หากคุณมีอาการ เจ็บปาก คุณไม่ได้เป็นโรคนั้นคนเดียว ยังมีคนอีกประมาณหนึ่งในสามรอบตัวคุณที่ได้รับเชื้อนี้เหมือนกัน แผลที่ปาก ริมฝีปากอักเสบ และการมีแผลพองที่ปาก สามารถทำให้มีอาการเจ็บปวด ไม่น่าดู และเป็นที่ระคายเคืองเวลารับประทานอาหาร และเวลาพูด โรคแผลในปาก มีการอาการต่อ$48;นื่องเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์หรือมากกว่า ควรได้รับการตรวจจากทันตแพทย์ ทันตแพทย์อาจแนะนำการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจเพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หรือ HIV
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นริมฝีปากอักเสบหรือแผลในช่องปาก
สัญญาณเหล่านี้อาจจะเป็นตัวชี้ว่าเป็นริมฝีปากอักเสบ หรือแผลในช่องปาก

  • โรคปากนกกระจอกมีลักษณะเป็นวงกลมขาวๆ ขนาดเล็ก หรือเจ็บรอบๆ บริเวณที่เป็น สีแดง โรคปากนกกระจอกจะไม่มีการแพร่กระจาย ซี่งอาจทำให้สับสนกับโรคปากเปื่อย ซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส มันอาจจะช่วยให้จำได้ง่ายว่า และก็สามารถเกิดซ้ำได้อีก มีทั้งขนาดเล็ก ใหญ่ หรือกระจายกันเป็นกลุ่ม
  • โรคปากนกกระจอกนั้นเป็นโรคธรรมดาและสามารถเกิดซ้ำได้อีก ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถ ระบุถึงสาเหตุของโรคได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่าอาจเกิดจากปัญหาของระบบภูมิคุ้มกัน หรืออาจเกี่ยวข้องกับแบคทีเรีย หรือไวรัส ปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียด การบาดเจ็บ แพ้ การสูบบุหรี่ การขาดวิตามิน หรือธาตุเหล็ก และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ก็มีส่วนในการทำให้เกิดโรคได้
  • โรคปากเปื่อยบางทีก็เรียกว่า Fever Blisters หรือ เริม เป็นการพองที่มีน้ำอยู่ข้างใน อยู่รอบๆ ปาก และบางครั้งก็เกิดใต้จมูก และรอบๆ คาง โรคปากเปื่อยส่วนใหญ่มักเกิด จากเชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้ง่าย และแพร่กระจาย การติดเชื้อครั้งแรกมักเกิดขึ้นใน วัยเด็ก บางครั้งก็ไม่มีอาการ และอาจจะสับสนกับโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เมื่อคนติดเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย บางครั้งเชื้อไวรัสก็อาจจะโจมตีได้ และในบางคน เชื้อไวรัสก็อาจจะอยู่แบบไม่แสดงอาการ
  • Leukoplakia ลักษณะหนา เหมือนแผ่นสีขาวด้านในของแก้ม เหงือก หรือลิ้น เป็นสาเหตุเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และยาสูบไร้ควันต่างๆ ถึงแม้ว่าอาจมีสาเหตุอื่น รวมถึงการใส่ฟันปลอมไม่ดี ฟันหัก และเคี้ยวโดนแก้ม ประมาณ 5% ของโรค Leukoplakia สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้ ทันตแพทย์อาจทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจได้ โรค Leukoplakia ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ถ้าหยุดการสบุหรี่
  • การติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis) หรือโรคเชื้อราที่ปาก เป็นการติดเชื้อจากเชื้อรา Candida Albicans (เป็นยีสต์ชนิดหนึ่ง) มันปรากฎเป็นส่วนที่มีเนื้อครีม สีเหลืองอมขาว หรือ เดง ซึ่งเกิดขึ้นที่ผิวชุ่มชื้นในปาก เนื้อเยื่อใต้ส่วนนั้นจะมีอาการปวด โรคเชื้อราที่ปาก เป็นอาการของผู้สวมฟันปลอมส่วนใหญ่ เด็กแรกเกิดหรือผู้ที่มีอาการอ่อนแอจากเชื้อโรค หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่วนคนที่มีปากแห้ง หรือคนที่ทานยาปฏิชีวนะก็จะเป็นโรคนี้ ได้ง่ายเช่นกัน
วิธีการรักษาริมฝีปากอักเสบและแผลในช่องปาก
มีการรักษาได้หลายแบบขึ้นอยู่กับอาการของโรคที่คุณมี ส่วนใหญ่โรคแผลในปากตามที่ได้อธิบาย รายละเอียดในด้านบน มีการรักษาดังต่อไปนี้

  • โรคปากนกกระจอก — โดยปกติแล้วโรคปากนกกระจอกจะหายได้ภายใน 7-10 วัน ถึงแม้ว่าอาการจะเกิดขึ้นอีกเป็นปกติ ไม่มียาที่สั่งจากแพทย์โดยเฉพาะซึ่งเป็นยาขี้ผึ้ง หรือยาบรรเทาอาการปวด สามารถบรรเทาได้เพียงชั่วคราว บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก ที่ต่อต้านจุลินทรีย์อาจช่วยอาการอักเสบได้ บางครั้งยาปฏิชีวนะอาจเป็นการลดอาการ ทางอ้อมได้
  • ปากอักเสบ — แผลพุพองโดยปกติสามารถหายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่อาจกลับมาเป็นอีกซ้ำอีกได้ หากผู้ป่วยมีอารมณ์ไม่ดี โดนแดดมากเกิŨ9;ไป หรือเป็นไข้ ไม่มียาชาเฉพาะที่ที่สามารถใช้บรรเทาอาการปวด ชั่วคราวได้ ยาต้านเชื้อไวรัสที่แพทย์สั่งอาจช่วยลดการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสบางชนิดได้ โปรดปรึกษาทันตแพทย์ หรืออายุรแพทย์
  • Leukoplakia — การรักษาอาจเริ่มจากการหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดแผล เช่น คนไข้บางคนอาจเลิกสูบบุหรี่ หรือในรายอื่นๆ อาจหมายถึงการใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี ก็เปลี่ยนฟันปลอมในมีความพอดีกับฟันของเรา ทันตแพทย์ของคุณสังเกตอาการ หรือตรวจสอบแผลอักเสบในช่วงระเวลา 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิด ตำแหน่ง และขนาด ของแผล
  • Candidiasis — การรักษาประกอบด้วยการควบคุมสาเหตุของการแพร่กระจาย
    • ทำความสะอาดฟันปลอม ซึ่งสำคัญต่อการป้องกันปัญหาการติดเชื้อที่เกิดจาก ฟันปลอม
    • ยาปฏิชีวนะ หรือยาคุมกำเนิดบางชนิดเป็นสาเหตุ ก็ให้ลดปริมาณ หรือเปลี่ยน การรักษาก็อาจช่วยได้
    • สิ่งที่ทดแทนน้ำลาย ก็ช่วยลดอาการปากแห้งได้
    • ยาต้านเชื้อราอาจใช้รักษาเมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือไม่สามารถรักษาได้
    • การดูแลช่องปากให้มีอนามัยที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ที่มา http://www.colgate.co.th

ดูแลแผลถอนฟัน



ดูแลแผลถอนฟัน (สวยด้วยแพทย์)

          ถอนฟัน ... เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากเผชิญ เพราะแค่เพียงได้ทราบถึงขั้นตอน ก็ต้องร้องโอดครวญว่า "เจ็บ" เพราะทันตแพทย์ต้องทำการฉีดยาชาบริเวณเหงือกใต้ฐานฟันที่ผุ ก่อนที่จะทำการถอนฟัน เพื่อระงับความเจ็บปวด...และเมื่อถอนฟันออกไปแล้วจะต้องมีวิธีการดูแลแผลถอนฟันที่ถูกต้อง 

โดยทันตแพทย์จะแนะนำอย่างคร่าว ๆ ให้ท่านได้เข้าใจและปฎิบัติตามไม่มากก็น้อย...ซึ่งวันนี้มีข้อแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาแผลถอนฟันมาฝากท่านผู้อ่านได้ปฎิบัติกันค่ะ

          กัดผ้าก๊อซให้แน่นพอสมควร ตรงบริเวณที่ถอนฟัน กัดทิ้งไว้เพื่อให้เลือดหยุดไหลเป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้วคายผ้าทิ้งถ้าเลือดยังไม่หยุดไหลให้กัดผ้าก๊อซต่ออีก 1 ชั่วโมง

          ในกรณีที่เลือดไหลไม่ยอมหยุด ให้ใช้น้ำแข็งห่อผ้านำมาประคบตรงบริเวณที่ถอนฟัน ห้ามบ้วนน้ำลายหรือเลือดในปากทิ้งในขณะที่กัดผ้าก๊อซ ให้กลืนลงคอให้หมด

           ในวันแรกห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาใด ๆ แต่ให้บ้วนปากด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือ (น้ำอุ่น 1 ถ้วยผสมเกลือ 1/2 ช้อนชา) บ้วนเบา ๆ โดยเฉพาะภายหลังรับประทานอาหาร

           วันที่สองให้แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากได้ตามปกติ เพียงแต่แปรงอย่างเบามืออย่าให้ไปกระทบกับแผลถอนฟัน ห้ามใช้นิ้วหรือไม้จิ้มฟันหรืออุปกรณ์ใด ๆ แคะบริเวณแผล และห้ามใช้ลิ้นเขี่ยแผลหรือดูดแผลเล่น

           งดการออกกำลังกายที่จะไปกระทบกระเทือนแผลถอนฟัน ห้ามดื่มสุรา ของมึนเมารวมทั้งอาหารรสจัด เผ็ด หรือของร้อนจัด ถ้ามีอาการบวม หรือแผลไม่หายหรือยังมีเลือดไหลออกมาอีก ให้มาพบแพทย์เพื่อดำเนินการรักษาต่อไป

          ทั้งนี้ เมื่อแผลหายดีแล้วคุณก็จะไม่มีอาการเจ็บแต่อย่างใด แต่คงต้องใส่ฟันปลอมเข้าไปแทนที่ เพื่อความสะดวกในการรับประทานอาหาร และป้องกันเหงือกจากการโดนกระทบกระเทือน รวมถึงเป็นการป้องกันไม่ให้ฟันซี่ด้านข้างล้มเอียงอีกด้วยค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวยด้วยแพทย์ และkapook.com