อุปกรณ์ในการทำแผล



อุปกรณ์ทำความสะอาดแผล 


        ชุดทำแผล (instrument) ที่ผ่านขั้นตอนการทำให้ปราศจากเชื้อ ประกอบด้วย ปากคีบ ชนิดไม่มีเขี้ยว (non-tooth forceps) ปากคีบมีเขี้ยว (tooth forceps) ถ้วยใส่สารละลาย (iodine cup) สำลี ผ้าก๊อส 


        สารละลาย (solution) ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ (antiseptic) และน้ำเกลือล้างแผล (0.9% normal saline) ที่ปราศจากเชื้อ 





           แอลกอฮอล์ 70% (alcohol 70%) ใช้สำหรับเช็ดผิวหนังรอบ ๆ แผล สามารถ  ฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนังประมาณร้อยละ 90 ภายใน 2 นาที โดยมีฤทธิ์ทำให้โปรตีนตกตะกอนหรือแตกสลายและจะระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อเมื่อนำไปใช้ในบาดแผล หรือบริเวณที่มีรอยแผลสด ทำให้สิ่งขับหลั่งเกิดตะกอนขุ่น ซึ่งจะมีผลต่อการอักเสบติดเชื้อบริเวณนั้นได้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ เช็ดแผลโดยตรง


          ทิงเจอร์ไอโอดีน (tincture iodine) เป็นน้ำยาทำความสะอาดผิวหนังที่ดีมากราคาถูกและมีพิษ (toxicity) ต่อเนื้อเยื่อของร่างกายน้อย เป็น bactericidal สามารถฆ่าได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส โดยจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ประมาณร้อยละ 90 ภายใน 90 วินาที 
          จึงนิยมใช้เป็นน้ำยาสำหรับทำให้ผิวหนังปราศจากจากเชื้อ อาจใช้ในในการรักษาแผลถลอกได้ โดยใช้ความเข้มข้น 0.8-1% แต่มีข้อเสีย คือ เมื่อทาบริเวณผิวหนังแล้วตัวทำละลายจะระเหยไป ทำให้ความเข้มข้นสูงขึ้น ผิวหนังไม้พองได้ ดังนั้นหลังจากใช้น้ำยา 1 นาที ให้เช็ดตามด้วยแอลกอฮอล์ 70% 


          เบตาดีน หรือโปรวิดีน ไอโอดีน (betadine, providone-iodine solution) เป็น น้ำยาที่ระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่า ทิงเจอร์ไอโอดีนใช้ได้ดีใน mucous membrane โดยไม่มีปฏิกิริยาต่อ mucous และโปรตีนในสิ่งขับหลั่ง 



         ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogenperoxcide) จัดอยู่ในกลุ่ม oxide ซึ่ง  สามารถฆ่าเชื้อได้โดยการสร้าง oxidant คือ hydroxyl free radical (-OH) ไปทำลายจุลินทรีย์ (microorganism) ใช้สำหรับล้างแผลสกปรก แผลมีหนองหรือลิ่มเลือด ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แปรสภาพได้ง่ายจะสลายตัวถ้ามีสารอื่นเจือปนหรือถูกความร้อนและแสงสว่าง ดังนั้นจงควรเก็บไว้ในขวดสีชาที่มีฝาปิดแน่น 


          เดกิน (dakin’s solution หรือ hyperchlorite solution) สามารถฆ่าเชื้อโรคและทำลายเนื้อตาย (necrotic tissue) ได้ จึงนิยมใช้กับแผลที่มีเนื้อตาย แต่มีข้อเสียคือจะละลายลิ่มเลือดและทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงได้ ไม่ควรใช้ในแผลสดเพราะระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ก่อนทำแผลจึงควรเจือจางความเข้มข้นเป็นประมาณ ? - ? ส่วน 

          โซเดียมคลอไรด์ (sodium chloride, NaCl 0.9% , normal saline) โดยทั่วไป เรียกว่า น้ำเกลือ โดยมีคุณสมบัติเป็น isotonic กับเซลล์ ช่วยในการกระตุ้นการงอกขยายของเซลล์ใหม่และไม่ทำลายเนื้อเยื่อ 

       วัสดุสำหรับปิดแผล ปกติจะปิด 3 ชั้น ชั้นแรกติดกับแผล ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 อยู่บนสุด ซึ่งมีหลายชนิดคือ 



       1. ผ้าก๊อส (gauze dressing) ขนาดต่าง ๆ สำหรับปิดแผลขนาดเล็กและมีสิ่งขับหลั่งเล็ก น้อย 




       2. ผ้าก๊อสหุ้มสำลี (top dressing) สำหรับปิดแผลที่มีสิ่งขับหลั่งจำนวนมาก 
       3. ผ้าก๊อสหุ้มสำลีขนาดใหญ่ (gumgi) ใช้ปิดแผลขนาดใหญ่และมีสิ่งขับหลั่งจำนวนมาก 


       4. วายก๊อส (y-gauze) เป็นผ้าก็อสที่ตัดตรงกลางเป็นรูปตัว Y ใช้ปิดแผลที่มีการใส่ท่อ เพื่อระบายสิ่งขับหลั่ง 


       5. วาสลินก๊อส (vasaline gauze) เป็นก๊อสชุบวาสลิน สำหรับปิดแผลเพื่อไม่ให้อากาศ เข้าสู่แผล เช่น แผล chest drain 
      6.  ก๊อส drain ผ้าก๊อสลักษณะเป็นสายยาว ใช้สำหรับใส่แผลที่มีรูโพรงขนาดเล็ก 

      7.  trasparent film เช่น tegaderm ลักษณะเป็นแผ่นใส ๆ สามารถมองผ่านเห็นเนื้อแผลใช้  สำหรับปิดแผลขนาดเล็ก แผลที่ใกล้หาย (healing wound) ปิดบริเวณที่แทงให้น้ำเกลือ หรือแผล subclavian catheter 

     8.  hydroconloid หรือ hydrogel เช่น duoderm ลักษณะเป็นแผ่นยาง มีสารช่วยในการ เจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ นิยมใช้ในแผลกดทับ


       วัสดุสำหรับผ้าปิดแผล เมื่อทำแผลเสร็จแล้วต้องทำให้ผ้าปิดแผลอยู่กับที่ วัสดุที่ใช้บ่อยคือ  พลาสเตอร์ (plaster) เพราะง่าย สะดวก แต่มีข้อเสียคือ ระคายเคืองผิวหนัง และเจ็บเวลาเอาออก บางชนิดยืดได้ เช่น เทนโซพลาสต์ (tenoplast) ใช้เพื่อกดรัดและช่วยในการห้ามเลือด นอกจากนี้อาจใช้ ผ้าพันแผล (elastic bandage) ก๊อสพันแผล (gauze bandage) หรืออาจจะใช้ผ้าพันแผล ซึ่งการพันขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 



        อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น กรรไกรตัดไหม กรรไกรตัดเชื้อเนื้อ (Metzenbaum) ช้อนขูด เนื้อตาย (Currette) อุปกรณ์สำหรับหยั่งความลึกของแผล (probe) 



      ภาชนะสำหรับทิ้งสิ่งสกปรก เช่น ชามรูปไต



ขอบคุณข้อมูล student.mahidol.ac.th ภาพจาก Internet