โรคปากนกกระจอกและแผลที่ปาก



ริมฝีปากอักเสบ และแผลในช่องปากมีอาการพอง เป็นจุดหรือ เจ็บแสบที่ปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น แม้ว่าการเจ็บแสบ และความผิดปกติที่ปากจะมีอยู่หลายประเภท โดยส่วนใหญ่ของอาการผิดปกติเหล่านี้จะเป็นโรคปากนกกระจอก ปากเปื่อย เนื้อเยื้อในปากเป็นสีขาวปื้นๆ (Leukoplakia) และการติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis) โรคเหล่านี้จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมด้านล่าง หากคุณมีอาการ เจ็บปาก คุณไม่ได้เป็นโรคนั้นคนเดียว ยังมีคนอีกประมาณหนึ่งในสามรอบตัวคุณที่ได้รับเชื้อนี้เหมือนกัน แผลที่ปาก ริมฝีปากอักเสบ และการมีแผลพองที่ปาก สามารถทำให้มีอาการเจ็บปวด ไม่น่าดู และเป็นที่ระคายเคืองเวลารับประทานอาหาร และเวลาพูด โรคแผลในปาก มีการอาการต่อ$48;นื่องเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์หรือมากกว่า ควรได้รับการตรวจจากทันตแพทย์ ทันตแพทย์อาจแนะนำการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจเพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หรือ HIV
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นริมฝีปากอักเสบหรือแผลในช่องปาก
สัญญาณเหล่านี้อาจจะเป็นตัวชี้ว่าเป็นริมฝีปากอักเสบ หรือแผลในช่องปาก

  • โรคปากนกกระจอกมีลักษณะเป็นวงกลมขาวๆ ขนาดเล็ก หรือเจ็บรอบๆ บริเวณที่เป็น สีแดง โรคปากนกกระจอกจะไม่มีการแพร่กระจาย ซี่งอาจทำให้สับสนกับโรคปากเปื่อย ซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส มันอาจจะช่วยให้จำได้ง่ายว่า และก็สามารถเกิดซ้ำได้อีก มีทั้งขนาดเล็ก ใหญ่ หรือกระจายกันเป็นกลุ่ม
  • โรคปากนกกระจอกนั้นเป็นโรคธรรมดาและสามารถเกิดซ้ำได้อีก ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถ ระบุถึงสาเหตุของโรคได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่าอาจเกิดจากปัญหาของระบบภูมิคุ้มกัน หรืออาจเกี่ยวข้องกับแบคทีเรีย หรือไวรัส ปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียด การบาดเจ็บ แพ้ การสูบบุหรี่ การขาดวิตามิน หรือธาตุเหล็ก และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ก็มีส่วนในการทำให้เกิดโรคได้
  • โรคปากเปื่อยบางทีก็เรียกว่า Fever Blisters หรือ เริม เป็นการพองที่มีน้ำอยู่ข้างใน อยู่รอบๆ ปาก และบางครั้งก็เกิดใต้จมูก และรอบๆ คาง โรคปากเปื่อยส่วนใหญ่มักเกิด จากเชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้ง่าย และแพร่กระจาย การติดเชื้อครั้งแรกมักเกิดขึ้นใน วัยเด็ก บางครั้งก็ไม่มีอาการ และอาจจะสับสนกับโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เมื่อคนติดเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย บางครั้งเชื้อไวรัสก็อาจจะโจมตีได้ และในบางคน เชื้อไวรัสก็อาจจะอยู่แบบไม่แสดงอาการ
  • Leukoplakia ลักษณะหนา เหมือนแผ่นสีขาวด้านในของแก้ม เหงือก หรือลิ้น เป็นสาเหตุเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และยาสูบไร้ควันต่างๆ ถึงแม้ว่าอาจมีสาเหตุอื่น รวมถึงการใส่ฟันปลอมไม่ดี ฟันหัก และเคี้ยวโดนแก้ม ประมาณ 5% ของโรค Leukoplakia สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้ ทันตแพทย์อาจทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจได้ โรค Leukoplakia ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ถ้าหยุดการสบุหรี่
  • การติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis) หรือโรคเชื้อราที่ปาก เป็นการติดเชื้อจากเชื้อรา Candida Albicans (เป็นยีสต์ชนิดหนึ่ง) มันปรากฎเป็นส่วนที่มีเนื้อครีม สีเหลืองอมขาว หรือ เดง ซึ่งเกิดขึ้นที่ผิวชุ่มชื้นในปาก เนื้อเยื่อใต้ส่วนนั้นจะมีอาการปวด โรคเชื้อราที่ปาก เป็นอาการของผู้สวมฟันปลอมส่วนใหญ่ เด็กแรกเกิดหรือผู้ที่มีอาการอ่อนแอจากเชื้อโรค หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่วนคนที่มีปากแห้ง หรือคนที่ทานยาปฏิชีวนะก็จะเป็นโรคนี้ ได้ง่ายเช่นกัน
วิธีการรักษาริมฝีปากอักเสบและแผลในช่องปาก
มีการรักษาได้หลายแบบขึ้นอยู่กับอาการของโรคที่คุณมี ส่วนใหญ่โรคแผลในปากตามที่ได้อธิบาย รายละเอียดในด้านบน มีการรักษาดังต่อไปนี้

  • โรคปากนกกระจอก — โดยปกติแล้วโรคปากนกกระจอกจะหายได้ภายใน 7-10 วัน ถึงแม้ว่าอาการจะเกิดขึ้นอีกเป็นปกติ ไม่มียาที่สั่งจากแพทย์โดยเฉพาะซึ่งเป็นยาขี้ผึ้ง หรือยาบรรเทาอาการปวด สามารถบรรเทาได้เพียงชั่วคราว บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก ที่ต่อต้านจุลินทรีย์อาจช่วยอาการอักเสบได้ บางครั้งยาปฏิชีวนะอาจเป็นการลดอาการ ทางอ้อมได้
  • ปากอักเสบ — แผลพุพองโดยปกติสามารถหายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่อาจกลับมาเป็นอีกซ้ำอีกได้ หากผู้ป่วยมีอารมณ์ไม่ดี โดนแดดมากเกิŨ9;ไป หรือเป็นไข้ ไม่มียาชาเฉพาะที่ที่สามารถใช้บรรเทาอาการปวด ชั่วคราวได้ ยาต้านเชื้อไวรัสที่แพทย์สั่งอาจช่วยลดการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสบางชนิดได้ โปรดปรึกษาทันตแพทย์ หรืออายุรแพทย์
  • Leukoplakia — การรักษาอาจเริ่มจากการหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดแผล เช่น คนไข้บางคนอาจเลิกสูบบุหรี่ หรือในรายอื่นๆ อาจหมายถึงการใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี ก็เปลี่ยนฟันปลอมในมีความพอดีกับฟันของเรา ทันตแพทย์ของคุณสังเกตอาการ หรือตรวจสอบแผลอักเสบในช่วงระเวลา 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิด ตำแหน่ง และขนาด ของแผล
  • Candidiasis — การรักษาประกอบด้วยการควบคุมสาเหตุของการแพร่กระจาย
    • ทำความสะอาดฟันปลอม ซึ่งสำคัญต่อการป้องกันปัญหาการติดเชื้อที่เกิดจาก ฟันปลอม
    • ยาปฏิชีวนะ หรือยาคุมกำเนิดบางชนิดเป็นสาเหตุ ก็ให้ลดปริมาณ หรือเปลี่ยน การรักษาก็อาจช่วยได้
    • สิ่งที่ทดแทนน้ำลาย ก็ช่วยลดอาการปากแห้งได้
    • ยาต้านเชื้อราอาจใช้รักษาเมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือไม่สามารถรักษาได้
    • การดูแลช่องปากให้มีอนามัยที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ที่มา http://www.colgate.co.th

ดูแลแผลถอนฟัน



ดูแลแผลถอนฟัน (สวยด้วยแพทย์)

          ถอนฟัน ... เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากเผชิญ เพราะแค่เพียงได้ทราบถึงขั้นตอน ก็ต้องร้องโอดครวญว่า "เจ็บ" เพราะทันตแพทย์ต้องทำการฉีดยาชาบริเวณเหงือกใต้ฐานฟันที่ผุ ก่อนที่จะทำการถอนฟัน เพื่อระงับความเจ็บปวด...และเมื่อถอนฟันออกไปแล้วจะต้องมีวิธีการดูแลแผลถอนฟันที่ถูกต้อง 

โดยทันตแพทย์จะแนะนำอย่างคร่าว ๆ ให้ท่านได้เข้าใจและปฎิบัติตามไม่มากก็น้อย...ซึ่งวันนี้มีข้อแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาแผลถอนฟันมาฝากท่านผู้อ่านได้ปฎิบัติกันค่ะ

          กัดผ้าก๊อซให้แน่นพอสมควร ตรงบริเวณที่ถอนฟัน กัดทิ้งไว้เพื่อให้เลือดหยุดไหลเป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้วคายผ้าทิ้งถ้าเลือดยังไม่หยุดไหลให้กัดผ้าก๊อซต่ออีก 1 ชั่วโมง

          ในกรณีที่เลือดไหลไม่ยอมหยุด ให้ใช้น้ำแข็งห่อผ้านำมาประคบตรงบริเวณที่ถอนฟัน ห้ามบ้วนน้ำลายหรือเลือดในปากทิ้งในขณะที่กัดผ้าก๊อซ ให้กลืนลงคอให้หมด

           ในวันแรกห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาใด ๆ แต่ให้บ้วนปากด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือ (น้ำอุ่น 1 ถ้วยผสมเกลือ 1/2 ช้อนชา) บ้วนเบา ๆ โดยเฉพาะภายหลังรับประทานอาหาร

           วันที่สองให้แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากได้ตามปกติ เพียงแต่แปรงอย่างเบามืออย่าให้ไปกระทบกับแผลถอนฟัน ห้ามใช้นิ้วหรือไม้จิ้มฟันหรืออุปกรณ์ใด ๆ แคะบริเวณแผล และห้ามใช้ลิ้นเขี่ยแผลหรือดูดแผลเล่น

           งดการออกกำลังกายที่จะไปกระทบกระเทือนแผลถอนฟัน ห้ามดื่มสุรา ของมึนเมารวมทั้งอาหารรสจัด เผ็ด หรือของร้อนจัด ถ้ามีอาการบวม หรือแผลไม่หายหรือยังมีเลือดไหลออกมาอีก ให้มาพบแพทย์เพื่อดำเนินการรักษาต่อไป

          ทั้งนี้ เมื่อแผลหายดีแล้วคุณก็จะไม่มีอาการเจ็บแต่อย่างใด แต่คงต้องใส่ฟันปลอมเข้าไปแทนที่ เพื่อความสะดวกในการรับประทานอาหาร และป้องกันเหงือกจากการโดนกระทบกระเทือน รวมถึงเป็นการป้องกันไม่ให้ฟันซี่ด้านข้างล้มเอียงอีกด้วยค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวยด้วยแพทย์ และkapook.com

โรคเบาหวานกับแผลเรื้อรัง




โรคเบาหวานกับแผลเรื้อรังที่เท้าแผลที่เท้า      
ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดแผลที่เท้าและถูกตัดขาได้มากกว่าคนธรรมดาหลายเท่าตัว

สาเหตุของการเกิดแผลที่เท้า 

                สาเหตุนั้นมีด้วยกันหลายองค์ประกอบซึ่งเป็นปัจจัยที่เสริมกันและกัน  การเป็นแผลที่เท้าของผู้ป่วยมักจะเริ่มจากสาเหตุเล็กๆน้อยๆที่สามารถป้องกันได้  หรือบางครั้งอาจเกิดจากอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆที่สามารถป้องกันได้  เช่น  การตัดเล็บเท้าลึกเกินไป  การใส่รองเท้าคับเกินไป เป็นต้น 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลที่เท้าจากโรคเบาหวาน 
มีหลายปัจจัยด้วยกันโดยปัจจัยหลักๆได้แก่ 

1.ปลายประสาทเสื่อม  โดยสามารถแบ่งย่อยออกไปอีก 3 ข้อ 
               1.1 ประสาทรับความรู้สึกเสื่อม  ทำให้สูญเสียการรับความรู้สึกเจ็บปวดหรือความรู้สึกร้อนเย็น  ดังนั้นเมื่อเป็นแผลขึ้นแล้วผู้ป่วยมักไม่หยุดใช้เท้าเนื่องจากขาดความรู้สึกเจ็บปวด  แผลจึงเกิดการอักเสบลุลามมากขึ้น 
              นอกจากนั้นเท้าของผู้ป่วยยังมีปัญหาเป็นตาปลาขึ้นได้ง่ายในจุดที่ลงน้ำหนักของเท้า  ซึ่งเป็นการหนาตัวขึ้นของชั้นผิวหนังในบริเวณที่ถูกกดทับมากๆในขณะเดิน  การกดทับตาปลาอาจทำให้เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายเป็นโพรงที่มีการติดเชื้อและอักเสบแล้วแตกออกเป็นแผล 
             1.2 ประสาทควบคุมกล้ามเนื้อเสื่อม  ทำให้กล้ามเนื้อเล็กๆที่เท้าลีบลง  กล้ามเนื้อที่เท้าไม่อยู่ในสภาพสมดุล  เท้าของผู้ป่วยจึงผิดรูป  นิ้วเท้าจิกลงคล้ายกรงเล็บ  ทำให้จุดรับน้ำหนักผิดไป   มีโอกาสเกิดตาปลาหรือแผลเป็นได้ง่าย 
             1.3 ประสาทอัติโนมัติเสื่อม  ทำให้ระบบประสาทควบคุมเกี่ยวกับการหลั่งเหงื่อ  การหดและขยายตัวของหลอดเลือดเสียไป  ผิวหนังแห้ง  มีเหงื่ออกน้อย  และผิวหนังแตกได้ง่าย  โดยเฉพาะบริเวณที่มีการพับงอบ่อยๆ  เชื้อโรคอาจเข้าไปตามรอยแตกแล้วเกิดเป็นแผลลุกลามมากขึ้น  และยังทำให้เท้าบวม  รองเท้าจึงคับขึ้นและกดเท้าจนเป็นแผลได้ 

2. ความผิดปกติของหลอดเลือด 
                     เนื่องจากเกิดภาวะเส้นเลือดตีบแข็งจนบางครั้งก็อุดตัน  ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งในหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดฝอย  ทำให้เกิดแผลที่เท้าขึ้นเองได้เนื่องจากเนื้อเยื่อขาดเลือดไปเลี้ยง  ซึ่งจะพบมากที่ปลายนิ้วเท้าทั้งห้าหรือส้นเท้า  ในผู้ป่วยบางรายซึ่งเกิดแผลจากสาเหตุอื่น  เช่น  อุบัติเหตุ  ของมีคม  เล็บขบ  ยุงกัดและการเกา เป็นต้น  การรักษาแผลให้หายเป็นไปได้ยากขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากหลอดเลือดเลือดตีบไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงเพียงพอ  ทำให้ไม่มีการสมานแผล  การตีบตันของหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานไม่ได้เกิดเพียงเฉพาะที่เท้าเท่านั้น  ยังเกิดกับหลอดเลือดอื่นๆด้วย  เช่น หลอดเลือดหัวใจและสมอง  นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมที่ทำให้มีการตีบตันเร็วและมากขึ้นอีก  คือการสูบบุหรี่  ไขมันในเลือดสูง  และความดันโลหิตสูง เป็นต้น 
                      หากเราเปรียบเทียบแผลเป็นสมรภูมิรบ  เส้นเลือดเป็นทางลำเลียงเสบียงและอาวุธไปสู่สมรภูมิ  ทางลำเลียงต้องปลอดโปร่งจึงจะสามารถส่งอาวุธหรือยาปฏิชีวนะไปกำจัดข้าศึก หรือฆ่าเชื้อโรคได้เต็มที่  เมื่อปราบข้าศึกได้หมดสิ้นแล้วก็ต้องทำการซ่อมแซมบ้านเมือง  ซึ่งก็ต้องอาศัยทางลำเลียงเดียวกันนี้ขนส่งวัสดุก่อสร้าง  เปรียบได้กับการสมานแผลที่ต้องการอาหารในปริมาณที่เพียงพอ 

3. การติดเชื้อแทรกซ้อน
                      แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีการติดเชื้อร่วมด้วยอยู่เสมอ  โดยเฉพาะการมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน  ทำให้การอักเสบลุกลามมากขึ้น  เกิดเส้นเลือดฝอยอุดตันทำให้เนื้อเยื่อที่ขาดเลือดส่งกลิ่นเหม็นเน่าได้  ยิ่งหากมีภาวะแทรกซ้อนทางประสาทและหลอดเลือดด้วยแล้ว  โอกาสที่จะรักษาให้หายยิ่งยากมากขึ้น  ซึ่งเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดขา

การรักษา 
การรักษาแผลที่เท้าแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ
               1.การรักษาเบื้องต้น    เมื่อเป็นแผลจากของมีคมหรือแผลขีดข่วน  ควรล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นและสบู่  เช็ดให้แห้งและใส่ยาฆ่าเชื้อ  เช่น เบตาดีนอย่างเจือจาง (น้ำยาเบตาดีน 1 ส่วนต่อน้ำเกลือนอร์มัล 3 ส่วน)  ปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลที่แห้งและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว  ไม่ควรใช้พลาสเตอร์ปิดแผลโดยตรง และไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อที่มีสีติดผิวหนังซึ่งล้างออกยาก  ถ้าหากแผลบามแดงขึ้นมีน้ำเหลืองออกมา  แม้ว่าจะไม่มีความเจ็บปวดก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
                ในบริเวณซอกนิ้วซึ่งอับชื้นอาจเกิดเชื้อราขึ้นได้  จึงควรหมั่นเช็ดให้แห้งและควรเปลี่ยนถุงเท้าบ่อยๆมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน  หรือไม่ใส่รองเท้าที่ปิดอับติดต่อกันนานๆ
                 บริเวณที่เป็นตาปลาควรได้รับการตัดออกอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อไม่ให้แข็งมากจนทำให้กดเนื้อใต้ผิวหนังเกิดเป็นเนื้อตาย  การตัดตาปลาต้องทำโดยผู้มีความชำนาญ  เช่น  แพทย์หรือพยาบาลเฉพาะทาง  นอกจากนี้อาจต้องทำรองเท้าพิเศษขึ้นเพื่อลดหรือเปลี่ยนจุดลงน้ำหนักของเท้าเพื่อไม่ให้เป็นแผล

                 2.การรักษาโดยแพทย์  ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของแผล  ซึ่งจะมีหลักการใหญ่ๆดังนี้
                 2.1 การทำแผล   หากมีหนองคั่งต้องเปิดแผลให้กว้างเพื่อระบายหนองออก  ตัดเนื้อเน่าหรือเนื้อตายออก ล้างด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาเบตาดีนเจือจาง  แล้วปิดแผลด้วยผ้ากอซชุบด้วยสารละลายข้างต้น  ควรทำแผล 2-4 ครั้งต่อวัน  และรักษาแผลให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
                  2.2 การใช้ยาปฏิชีวนะ   จะอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ว่าควรใช้ยาชนิดใดและให้ยาโดยการรับประทาน  หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือด  โดยแพทย์จะพิจารณาตามลักษณะและความรุนแรงของแผล
                   2.3 การหยุดพักบริเวณที่เป็นแผล  โดยหากเป็นจุดที่ลงน้ำหนักควรนอนพักเฉยๆ  พยายามเดินเท่าที่จำเป็น  หรือสวมรองเท้าที่ทำขึ้นเป็นพิเศษ  เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักในบริเวณที่เป็นแผล
                    2.4 การผ่าตัดหลอดเลือด  ในกรณีที่แผลนั้นมีการขาดเลือดเนื่องจากมีเส้นเลือดตีบแข็ง  ในขั้นแรกจะต้องวินิจฉัยโดยการฉีดสีเข้าไปในหลอดเลือดเพื่อดูว่าเส้นเลือดตีบตันหรือไม่  และจะสามารถผ่าตัดให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณแผลได้ดีขึ้นหรือไม่  ซึ่งในบางครั้งก็สามารถทำได้และได้ผลค่อนข้างดีถ้าหากอยู่ในการดูแลของแพทย์ที่ชำนาญ  แต่อาการขาดเลือดซึ่งเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดฝอยนั้นไม่สามารถผ่าตัดแก้ไขได้
                      2.5 การผ่าตัดเท้าทิ้ง  จะทำต่อเมื่อไม่สามารถรักษาแผลด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้วให้ได้ผล  ระดับที่ผ่าตัดจะอยู่ใต้เข่าหรือเหนือเข่าขึ้นอยู่กับแผล  หลังการผ่าตัดแล้วสามารถประกอบขาเทียมได้  ทำให้ผู้ป่วยเดินและเคลื่อนใหวได้ดังเดิม จะเห็นได้ว่าการรักษาแผลที่เท้านั้นนอกจากทำให้เกิดผลเสียทางด้านจิตใจแล้วยังเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากตามมา  ดังนั้นการป้องกัน  และการรักษาให้ถูกต้องที่ต้นเหตุของการเกิดโรค  คือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  ระดับไขมันในเลือด และควบคุมความดันโลหิตให้ดี  จึงเป็นวิธีที่การที่สำคัญที่สุดที่สามารถลดโอกาสการเกิดแผลเรื้อรังจากเบาหวานได้ดีที่สุด  

การป้องกัน
◦ควบคุมเบาหวานให้ดีที่สุด 
◦งดการสูบบุหรี่
◦ออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ
◦ควบคุมไขมันในเลือดไม่ให้สูงเกินปกติ
◦รักษาโรคความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดการบริโภคเกลือ
◦ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

การดูแลเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน 
1.ควรแช่เท้าในน้ำอุ่นอาทิตย์ละ 2 ครั้ง  ครั้งละ 15- 30 นาที เพื่อกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัวเพื่อไปเลี้ยงปลายเท้า 
2.ควรใช้โลชั่นชนิดที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังทาเท้าทุกวัน  เพื่อทำให้เท้าชุ่มชื้นอยู่เป็นประจำ  ไม่ทำให้เกิดการแห้งแตก อันเป็นที่มาของแผลต่างๆ 
3.ควรสวมถุงเท้าเป็นประจำ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่เท้า  และป้องกันแผลที่เกิดจากการขีดข่วนต่างๆ 
4.ควรหมั่นตรวจเท้าทุกวันเพื่อดูแลความสะอาด  
และป้องกันการเกิดแผลที่เท้า

ขอบคุณข้อมูลจาก Internet

ดูแลแผล..หลังคลอด



            คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมีแผลเย็บหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นเพราะจำเป็นต้องเข้ารับ การผ่าตัดคลอด หรือการตัดฝีเย็บหรือรอยฉีกขาดบริเวณช่องคลอด  
            ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โอกาสที่คุณแม่จะมีแผลเย็บอาจจะลดลงได้ หากคุณแม่คลอดลูกในน้ำ แต่ว่าการเจ็บท้องคลอดและการคลอดในแต่ละคนหรือในแต่ละครั้งย่อมแตกต่างกัน และยากที่จะบอกล่วงหน้าได้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้

แผลในกระเพาะอาหาร..คือ



                       ปวดท้อง เป็นๆ หายๆ  อาการเหล่านี้เคยเกิดขึ้นกับหลายๆ ท่านใช่หรือเปล่าค่ะ แต่ว่าอาการปวดอาจไม่ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่สำหรับ ดิฉัน มีอาการปวดไม่มากสักเท่าไหร่ แต่เป็นบ่อย ทานยาแล้วดีขึ้น  เวลาผ่านไป ก็กลับมาเป็นอีก สุดท้ายก็ไปปรึกษาแพทย์ ค่ะ ..แล้วก็ได้รู้จัก โรคแผลในกระเพาะอาหาร... จึงอยากจะศึกษารายละเอียดให้มากขึ้น และได้หาข้อมูลทาง Internet สำหรับท่านที่มีอาการคล้ายๆ กัน สามารถอ่านเพื่อเป็นความรู้ได้นะคะ...

                     บาดแผลภายในที่พบได้บ่อยมากเห็นจะได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะ ทำให้เกิดอาการปวดท้องที่หลายๆ คนอาจมีประสบการณ์มาบ้าง หรือมีแนวโน้มจะเป็นในอนาคต โดยเฉพาะในภาวะการณ์เครียดๆ อย่างในช่วงนี้ ถ้าอย่างนั้นเราลองมาดูกันว่าจะรับมือกับเจ้าโรคนี้กันได้อย่างไร

                    กระเพาะอาหาร เป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อกับหลอดอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น กล่าวคือ อาหารที่เรากินเข้าไป จะผ่านไปทางหลอดอาหารเข้าไปสู่กระเพาะอาหาร เพื่อทำการย่อย แล้วจึงค่อยผ่านไปทางลำไส้เล็ก เพื่อการดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วนำไปใช้เลี้ยงร่างกาย จากนั้นกากอาหารที่ผ่านกระบวนการดูดซึมแล้ว จะเคลื่อนตัวไปยังลำไส้ใหญ่ เพื่อผ่านไปยังทวารหนักแล้วขับออกจากร่างกายต่อไป เมื่อพูดถึงแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นคำที่เรียกกันทั่วๆ ไปจนติดปาก ความหมายจึงมักคาบเกี่ยวระหว่าง แผลที่กระเพาะอาหาร (Gastric Ulcer) กับแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal Ulcer) ก็เป็นได้
                     แผลในกระเพาะอาหารที่ว่านี้ บางคนอาจยังนึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ต้องขอบอกว่าไม่เหมือนกับบาดแผลถลอกตามผิวหนังภายนอก ที่เมื่อแห้งแล้วจะเกิดสะเก็ดแผลสีดำๆ แน่ แต่ให้นึกถึงเวลาที่เราเกิดแผลในปาก หรือตามกระพุ้งแก้มดูก็แล้วกัน ซึ่งนี่จะเป็นรอยแผลเล็กๆ ขนาด 5-25 มิลลิเมตร ที่เกิดบนผนังของกระเพาะ มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ก่อนมักมีความเชื่อกันว่าแผลในกระเพาะนี้ มักเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงระดับความเครียด หรือวิตกกังวลที่มากเกินไป หรือเป็นผลของการกินอาหารเผ็ดจัดๆ แต่ปัจจุบันพบว่า การเกิดแผลในกระเพาะนั้น มีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของกรดในกระเพาะ (ที่ใช้ย่อยอาหาร) กับสารที่ทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่อของร่างกาย จากกรดเหล่านี้ต่างหาก

แผลในกระเพาะเกิดได้อย่างไร? 
                 ในสถานะสมดุล  ในกระเพาะอาหารของคนเรา จะมีการสร้างกรดและเอนไซม์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า เปปซิน (Pepsin) เพื่อใช้สำหรับย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป กรดนี้จะมีฤทธิ์รุนแรงในการกัดกร่อน ย่อยสลายอินทรียสารต่างๆ ดังนั้นเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้กรดนี้ ไปย่อยเนื้อเยื่อของร่างกายเสียเอง ตลอดผนังทางเดินอาหารส่วนบนของร่างกาย จึงเคลือบไว้ด้วยเกราะป้องกันที่สร้างจากเมือกและโปรตีน ความสมดุลระหว่างปริมาณของกรดในกระเพาะ กับปริมาณของเมือกบุผนังทางเดินอาหารนี้ จะช่วยรักษาทางเดินอาหารให้มีสุขภาพที่ดี
                  เมื่อเกิดความไม่สมดุล ก็เป็นที่มาของแผลในกระเพาะอาหาร  หากกรดในกระเพาะอาหารเกิดหลั่งออกมามากเกินไป หรือเมือกที่บุผนังทางเดินอาหารมีปริมาณไม่มากเพียงพอ ก็มีโอกาสที่กรดและเอนไซม์เปปซินจะไปกัดกร่อน ทำลายเนื้อเยื่อชั้นในของผนังทางเดินอาหาร ทำให้เกิดแผลได้ ตำแหน่งที่เกิดแผลมักอยู่ในกระเพาะอาหาร (Gastric Ulcer) หรือแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal Ulcer)

อะไรทำให้เกิดความไม่สมดุล?
                มีหลายปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดความไม่สมดุลกัน ระหว่างกรดในกระเพาะอาหาร กับเมือกที่บุผนังทางเดินอาหาร จนอาจนำมาสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่
  • การใช้ยาต้านอักเสบ (NSAIDs) ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน และยารักษาอาการปวดข้อชนิดต่างๆ
  • การสูบบุหรี่ ซึ่งมีผลไปเพิ่มปริมาณกรดในกระเพาะ และยับยั้งการสร้างเมือกบุผนังทางเดินอาหาร
  • การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ กาแฟ (รวมทั้งกาแฟชนิดดีคาเฟอีน (decaffeinated coffee) หรือโคล่า (มีคาเฟอีนผสมเหมือนกัน) อาจทำให้อาการแย่ลง
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม หากใครมีประวัติคนในครอบครัว เคยเป็นแผลในกระเพาะอาหารมาก่อน ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นได้มากกว่าคนอื่นๆ

ติดเชื้อ! อีกสาเหตุของแผลในกระเพาะ
                นอกจากความไม่สมดุลในกระเพาะอาหาร จะเป็นสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารแล้ว การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H.pylori) ก็เป็นอีกสาเหตุของการเกิดแผลนี้ด้วยเช่นกัน
              โดยปกติเชื้อโรคทั่วไป จะไม่สามารถทนภาวะกรดในกระเพาะอาหารได้ แต่ H.pylori เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถปรับตัว จนอาศัยในอยู่ภาวะกรดอย่างแรงได้ จึงเจริญเติบโตอยู่ในเยื่อบุกระเพาะอาหาร และเป็นสาเหตุของการอักเสบ และแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และในระยะยาวยังเป็นปัจจัยเสี่ยงประการหนึ่ง ของมะเร็งในกระเพาะอาหาร
             
สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นแผลในกระเพาะอาหาร คืออาการดังต่อไปนี้
  • ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง หรือปวดคล้ายกับเวลาหิวข้าว ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากกินอาหารไปแล้วประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือปวดกลางดึก
  • เวลาได้กินอาหารมักจะหายปวด หรือไม่ก็อาจจะปวดยิ่งขึ้น
  • รู้สึกคลื่นไส้ หรืออาเจียน
  • รู้สึกท้องอืด มีลมในท้อง เหมือนอาหารย่อยได้ไม่ดี
  • มีอุจจาระเป็นสีคล้ำดำ หรือมีเลือดปน (ในกรณีที่แผลมีเลือดออกร่วมด้วย)
  • แต่บางกรณีผู้ที่เป็นก็อาจไม่รู้สึกเจ็บปวด หรือมีอาการเลยจนกว่าจะเกิดมีเลือดออก

               ในคนที่เกิดอาการดังกล่าว ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็คในแน่ใจว่า อาการที่เป็นนั้น เกิดจากเป็นแผลในกระเพาะอาหารหรือเกิดจากเหตุอื่น ซึ่งแพทย์อาจสอบถามประวัติหรือทดสอบบางอย่าง เพื่อจะได้วินิจฉัย และหาวิธีรักษาที่เหมาะสมได้ถูกกับโรคได้ เช่น ประวัติการสูบบุหรี่ การได้รับยาบางอย่าง โรคอื่นๆ ที่เป็นร่วมด้วย หรือมีคนในครอบครัวเคยเป็นแผลในกระเพาะมาก่อนหรือไม่                        
              ในกรณีที่มีอาการยังไม่มาก แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาเบื้องต้น เช่น การใช้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอยู่ในชีวิตประจำวัน เพื่อทดลองรักษาเบื้องต้นว่าอาการจะดีขึ้นหรือไม่ ก่อนที่จะตรวจในระดับลึกขึ้น
              สำหรับคนที่รักษาเบื้องต้นแล้วยังไม่ได้ผล หรือมีอาการเรื้อรังมานานๆ ในบางกรณีแพทย์อาจจำเป็นต้องสั่งตรวจพิเศษ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ เช่น
  • การตรวจเอกซเรย์โดยให้กลืนแบเรียม เพื่อการระบุตำแหน่งของแผลในกระเพาะอาหาร
  • การตรวจโดยการส่องกล้อง (Endoscopic Exam) เพื่อดูลักษณะแผลที่อยู่ในกระเพาะอาหาร หรือทำการห้ามเลือด กรณีเลือดออกมาก รวมทั้งอาจตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ เพื่อดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
  • การตรวจอื่นๆ เช่น ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H.pylori)

              เมื่อทราบสมุฏฐานของโรคแล้ว แพทย์จะเลือกรักษาด้วยยาที่เหมาะสม ซึ่งยาที่ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารมีหลายอย่าง บางอย่างเป็นยาที่ช่วยลดปริมาณกรดในกระเพาะ บางอย่างเป็นยาที่ใช้เคลือบผนังกระเพาะอาหาร และปรับสภาพกรดให้เป็นกลางมากขึ้น ยาปฏิชีวนะบางอย่างมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งรวมๆ แล้วก็จะช่วยบรรเทาอาการที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้

รักษาแผลในกระเพาะอย่างไรให้ได้ผล ?
                   เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของโรคที่เป็น และช่วยทำให้การรักษามีประสิทธิภาพเต็มที่ ล้วนขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา และการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยมีข้อเตือนใจที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่
  • อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร มักจะหายไปก่อนที่แผลจะหายสนิท ดังนั้นคุณไม่ควรหยุดกินยา ก่อนที่แพทย์จะสั่งให้หยุด
  • แผลในกระเพาะอาหารอาจกลับมาเป็นซ้ำแล้วซ้ำอีกได้บ่อยๆ คุณอาจจำเป็นต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าแผลเก่าจะหายสนิทแล้ว และป้องกันไม่ให้เกิดแผลใหม่ขึ้นมา
  • ระหว่างรับการรักษานี้ ควรหลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดในกลุ่มแอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือยาต้านอักเสบอื่นๆ เพราะล้วนมีฤทธิ์ระคายเคือง ต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งจะยิ่งทำให้เป็นแผลมากขึ้น
  • เมื่อเจ็บป่วยหรือต้องได้รับยาอย่างอื่น ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบด้วยว่า กำลังเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงตัวยา ที่มีผลระคายเคืองกระเพาะ
 
นอกจากนี้ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น
  • หยุดสูบบุหรี่ เพราะนอกจากจะทำให้ทางเดินอาหาร อยู่ในสภาพไม่สมดุลแล้ว สารในบุหรี่ยังระคายเคือง ต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นด้วย ซึ่งจะมีผลให้แผลหายช้าลงมาก หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่แผลนั้นเสียเอง คนที่ยังสูบบุหรี่ มักมีแนวโน้มเกิดแผลในกระเพาะซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • กินยาให้ตรงตามแพทย์สั่ง เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างกรด และเมือกที่บุผนังทางเดินอาหาร ควรกินยาให้หมด หรือจนกว่าแพทย์จะสั่งให้หยุด แม้จะหายปวดท้องหรือไม่มีอาการปรากฏแล้วก็ตาม
  • อย่าปล่อยให้ตัวเองเครียด แม้ว่าความเครียดจะไม่ได้มีผลโดยตรง ต่อการเกิดแผลในกระเพาะ แต่ก็มักจะมีผลรบกวนการบรรเทาของแผล และมักจะทำให้อาการแย่ลงได้มาก วิธีบรรเทาความเครียดหากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ อาจทำได้โดยการหันไปออกกำลังกาย หรือการหยุดพักงานที่ทำอยู่สักพัก และนอนหลับให้เต็มอิ่ม
  • กินอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายให้ครบหมู่ สมัยก่อนคนที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มักจะถูกสั่งให้เปลี่ยนมากินอาหารที่มีรสจืดๆ เป็นหลักไว้ก่อน แต่ปัจจุบันมีการพบว่าอาหารส่วนมาก แม้แต่อาหารที่มีรสเผ็ดร้อนก็ตาม มีผลน้อยมากต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม อาหารบางอย่างก็อาจทำให้คุณรู้สึกแย่ลง ดังนั้นจึงควรเลี่ยงจะดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ กาแฟ น้ำอัดลม โซดา เป็นต้น

             ในกรณีที่คุณไม่ได้รักษาตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น ไม่กินยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบ หรือมีอาการกลับมาเป็นใหม่หรือแย่ยิ่งกว่าเดิม มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกไม่หยุด แผลทะลุ อาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ไม่ได้จากการอุดตัน หรือเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร ในที่สุดแล้ว อาจถึงขั้นจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดก็เป็นได้ ดังนั้นอย่าละเลย ถ้ามีอาการรุนแรงเกิดขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เป็นต้นว่า
  • มีอาการอาเจียนบ่อยครั้ง หรืออาเจียนเป็นเลือด หรือลิ่มเลือด
  • อุจจาระเป็นสีคล้ำ ดำ หรือมีเลือดปน
  • มีอาการอ่อนแรง หรือเวียนศีรษะโดยไม่รู้สาเหตุ (เป็นสัญญาณของการเสียเลือดอย่างช้าๆ ต่อเนื่อง)
  • ปวดท้องมากอย่างฉับพลัน
  • น้ำหนักลดอย่างต่อเนื่อง
  • ยังคงรู้สึกปวดต่อเนื่องแม้จะกินยารักษาแล้วก็ตาม
  • รู้สึกอิ่มตื้อหลังจากกินอาหารไปได้เพียงไม่กี่คำ

    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร - HealthToday

อุปกรณ์ในการทำแผล



อุปกรณ์ทำความสะอาดแผล 


        ชุดทำแผล (instrument) ที่ผ่านขั้นตอนการทำให้ปราศจากเชื้อ ประกอบด้วย ปากคีบ ชนิดไม่มีเขี้ยว (non-tooth forceps) ปากคีบมีเขี้ยว (tooth forceps) ถ้วยใส่สารละลาย (iodine cup) สำลี ผ้าก๊อส 


        สารละลาย (solution) ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ (antiseptic) และน้ำเกลือล้างแผล (0.9% normal saline) ที่ปราศจากเชื้อ 





           แอลกอฮอล์ 70% (alcohol 70%) ใช้สำหรับเช็ดผิวหนังรอบ ๆ แผล สามารถ  ฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนังประมาณร้อยละ 90 ภายใน 2 นาที โดยมีฤทธิ์ทำให้โปรตีนตกตะกอนหรือแตกสลายและจะระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อเมื่อนำไปใช้ในบาดแผล หรือบริเวณที่มีรอยแผลสด ทำให้สิ่งขับหลั่งเกิดตะกอนขุ่น ซึ่งจะมีผลต่อการอักเสบติดเชื้อบริเวณนั้นได้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ เช็ดแผลโดยตรง


          ทิงเจอร์ไอโอดีน (tincture iodine) เป็นน้ำยาทำความสะอาดผิวหนังที่ดีมากราคาถูกและมีพิษ (toxicity) ต่อเนื้อเยื่อของร่างกายน้อย เป็น bactericidal สามารถฆ่าได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส โดยจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ประมาณร้อยละ 90 ภายใน 90 วินาที 
          จึงนิยมใช้เป็นน้ำยาสำหรับทำให้ผิวหนังปราศจากจากเชื้อ อาจใช้ในในการรักษาแผลถลอกได้ โดยใช้ความเข้มข้น 0.8-1% แต่มีข้อเสีย คือ เมื่อทาบริเวณผิวหนังแล้วตัวทำละลายจะระเหยไป ทำให้ความเข้มข้นสูงขึ้น ผิวหนังไม้พองได้ ดังนั้นหลังจากใช้น้ำยา 1 นาที ให้เช็ดตามด้วยแอลกอฮอล์ 70% 


          เบตาดีน หรือโปรวิดีน ไอโอดีน (betadine, providone-iodine solution) เป็น น้ำยาที่ระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่า ทิงเจอร์ไอโอดีนใช้ได้ดีใน mucous membrane โดยไม่มีปฏิกิริยาต่อ mucous และโปรตีนในสิ่งขับหลั่ง 



         ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogenperoxcide) จัดอยู่ในกลุ่ม oxide ซึ่ง  สามารถฆ่าเชื้อได้โดยการสร้าง oxidant คือ hydroxyl free radical (-OH) ไปทำลายจุลินทรีย์ (microorganism) ใช้สำหรับล้างแผลสกปรก แผลมีหนองหรือลิ่มเลือด ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แปรสภาพได้ง่ายจะสลายตัวถ้ามีสารอื่นเจือปนหรือถูกความร้อนและแสงสว่าง ดังนั้นจงควรเก็บไว้ในขวดสีชาที่มีฝาปิดแน่น 


          เดกิน (dakin’s solution หรือ hyperchlorite solution) สามารถฆ่าเชื้อโรคและทำลายเนื้อตาย (necrotic tissue) ได้ จึงนิยมใช้กับแผลที่มีเนื้อตาย แต่มีข้อเสียคือจะละลายลิ่มเลือดและทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงได้ ไม่ควรใช้ในแผลสดเพราะระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ก่อนทำแผลจึงควรเจือจางความเข้มข้นเป็นประมาณ ? - ? ส่วน 

          โซเดียมคลอไรด์ (sodium chloride, NaCl 0.9% , normal saline) โดยทั่วไป เรียกว่า น้ำเกลือ โดยมีคุณสมบัติเป็น isotonic กับเซลล์ ช่วยในการกระตุ้นการงอกขยายของเซลล์ใหม่และไม่ทำลายเนื้อเยื่อ 

       วัสดุสำหรับปิดแผล ปกติจะปิด 3 ชั้น ชั้นแรกติดกับแผล ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 อยู่บนสุด ซึ่งมีหลายชนิดคือ 



       1. ผ้าก๊อส (gauze dressing) ขนาดต่าง ๆ สำหรับปิดแผลขนาดเล็กและมีสิ่งขับหลั่งเล็ก น้อย 




       2. ผ้าก๊อสหุ้มสำลี (top dressing) สำหรับปิดแผลที่มีสิ่งขับหลั่งจำนวนมาก 
       3. ผ้าก๊อสหุ้มสำลีขนาดใหญ่ (gumgi) ใช้ปิดแผลขนาดใหญ่และมีสิ่งขับหลั่งจำนวนมาก 


       4. วายก๊อส (y-gauze) เป็นผ้าก็อสที่ตัดตรงกลางเป็นรูปตัว Y ใช้ปิดแผลที่มีการใส่ท่อ เพื่อระบายสิ่งขับหลั่ง 


       5. วาสลินก๊อส (vasaline gauze) เป็นก๊อสชุบวาสลิน สำหรับปิดแผลเพื่อไม่ให้อากาศ เข้าสู่แผล เช่น แผล chest drain 
      6.  ก๊อส drain ผ้าก๊อสลักษณะเป็นสายยาว ใช้สำหรับใส่แผลที่มีรูโพรงขนาดเล็ก 

      7.  trasparent film เช่น tegaderm ลักษณะเป็นแผ่นใส ๆ สามารถมองผ่านเห็นเนื้อแผลใช้  สำหรับปิดแผลขนาดเล็ก แผลที่ใกล้หาย (healing wound) ปิดบริเวณที่แทงให้น้ำเกลือ หรือแผล subclavian catheter 

     8.  hydroconloid หรือ hydrogel เช่น duoderm ลักษณะเป็นแผ่นยาง มีสารช่วยในการ เจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ นิยมใช้ในแผลกดทับ


       วัสดุสำหรับผ้าปิดแผล เมื่อทำแผลเสร็จแล้วต้องทำให้ผ้าปิดแผลอยู่กับที่ วัสดุที่ใช้บ่อยคือ  พลาสเตอร์ (plaster) เพราะง่าย สะดวก แต่มีข้อเสียคือ ระคายเคืองผิวหนัง และเจ็บเวลาเอาออก บางชนิดยืดได้ เช่น เทนโซพลาสต์ (tenoplast) ใช้เพื่อกดรัดและช่วยในการห้ามเลือด นอกจากนี้อาจใช้ ผ้าพันแผล (elastic bandage) ก๊อสพันแผล (gauze bandage) หรืออาจจะใช้ผ้าพันแผล ซึ่งการพันขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 



        อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น กรรไกรตัดไหม กรรไกรตัดเชื้อเนื้อ (Metzenbaum) ช้อนขูด เนื้อตาย (Currette) อุปกรณ์สำหรับหยั่งความลึกของแผล (probe) 



      ภาชนะสำหรับทิ้งสิ่งสกปรก เช่น ชามรูปไต



ขอบคุณข้อมูล student.mahidol.ac.th ภาพจาก Internet

ชนิดและวัตถุประสงค์ของการทำแผล



ชนิดของการทำแผล

     1. การทำแผลแบบแห้ง (dry dressing) ใช้สำหรับทำแผลสะอาด แผลปิด แผลที่ไม่มีการ อักเสบเป็นแผลเล็ก ๆ ที่ไม่มีสิ่งขับหลั่งมาก 
     2. การทำแผลแบบเปียก (wet dressing) ใช้สำหรับทำแผลที่มีลักษณะเป็นแผลเปิด แผล อักเสบติดเชื้อ แผลที่มีสิ่งขับหลั่งมาก ซึ่งการปิดแผลขั้นแรกจะใช้วัสดุที่มีความชื้น เช่น ก๊อสชุบน้ำเกลือ (0.9% normal saline) ปิดไว้แล้วปิดด้วยก๊อสแห้งอีกครั้ง 


วัตถุประสงค์ของการทำแผล 
1. เพื่อให้สภาวะที่ดีเหมาะแก่การงอกของเนื้อเยื่อ
2. ดูดซึมสิ่งขับหลั่ง เช่น เลือด น้ำเหลือง หนอง เป็นต้น 
3. จำกัดการเคลื่อนไหวของแผลให้อยู่นิ่ง 
4. ให้ความชุ่มชื้นกับพื้นผิวของแผลอยู่เสมอ
5. ป้องกันไม่ให้ผ้าปิดแผลติดและดึงรั้งเนื้อเยื่อที่งอกใหม่ 
6. ป้องกันแผลหรือเนื้อเยื่อที่เกิดใหม่จากสิ่งกระทบกระเทือน 
7. ป้องกันแผลปนเปื้อนเชื้อโรคจากอุจจาระปัสสาวะสิ่งสกปรกอื่น ๆ
8. เป็นการห้ามเลือด 
9. ผู้ป่วยสุขสบาย

ขอขอบคุณ student.mahidol.ac.th